top of page
Search
  • Writer's pictureMusic Christ

ดนตรียุคโรแมนติก (the Romantic Period)

ความหมายของคำว่า “โรแมนติก” กว้างมากจนยากที่จะหานิยามสั้น ๆ ให้ได้ ในทางดนตรีมักให้ความหมายว่า ลักษณะที่ตรงกันข้ามกับดนตรีคลาสสิก กล่าวคือ ขณะที่ดนตรีคลาสสิกเน้นที่รูปแบบอันลงตัวแน่นอน (Formality)โรแมนติกจะเน้นที่เนื้อหา(Content) คลาสสิกเน้นความมีเหตุผลเกี่ยวข้องกัน (Rationalism)โรแมนติกเน้นที่อารมณ์ (Emotionalism) และคลาสสิกเป็นตัวแทนความคิด แบบภววิสัย(Objectivity) โรแมนติกจะเป็นตัวแทนของอัตวิสัย (Subjectivity)

📷 นอกจากนี้ยังมีคำนิยามเกี่ยวกับดนตรีสมัยโรแมนติก ดังนี้ - คุณลักษณะของการยอมให้แสดงออกได้อย่างเต็มที่ซึ่งจินตนาการ อารมณ์ที่หวั่นไหว และความรู้สึกทางใจ - ในดนตรีและวรรณกรรม หมายถึง คำที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “Classicism” เสรีภาพที่พ้นจากการเหนี่ยวรั้งทางจิตใจ หรือจารีตนิยมเพื่อที่จะกระทำการในเรื่องใด ๆ

สมัยโรแมนติกเริ่มต้นขึ้นในตอนต้นของศตวรรษที่ 19แต่รูปแบบของดนตรีโรแมนติกเริ่มเป็นรูปแบบขึ้นในตอนปลายของศต วรรษที่ 18 แล้วโดยมีเบโธเฟนเป็นผู้นำ และเป็นรูปแบบของเพลงที่ยังคงพบเห็นแม้ในศตวรรษที่ 20 นี้ สมัยนี้เป็นดนตรีที่แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกของ ผู้ประพันธ์อย่างมาก ผู้ประพันธ์เพลงในสมัยนี้ไม่ได้แต่งเพลงให้กับเจ้านายของตนดังใ นสมัยก่อน ๆ ผู้ประพันธ์เพลงแต่งเพลงตามใจชอบของตน และขายต้นฉบับให้กับสำนักพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะดนตรีจึงเป็นลักษณะของผู้ประพันธ์เอง

ดนตรีสมัยนี้เริ่มประมาณปี ค.ศ. 1820 – 1900 ถือว่าเป็นยุคทองของดนตรี ดนตรีมิได้เป็นเอกสิทธิ์ของผู้นำทางศาสนาหรือการปกครอง ได้มีการแสดงดนตรี (Concert) สำหรับสาธารณชนอย่างแพร่หลาย นักดนตรีแต่ละคนมีโอกาสแสดงออกซึ่งความรู้สึกของตนเองได้เต็มที ่ และต้องการสร้างสไตล์การเขียนเพลงของตนเองด้วย ทำให้เกิดสไตล์การเขียนเพลงของแต่ละท่านแตกต่างกันอย่างมาก ในยุคนี้ใช้ดนตรีเป็นเครื่องแสดงออกของอารมณ์อย่างเต็มที่ ทุกๆ อารมณ์สามารถถ่ายทอดออกมาได้ด้วยเสียงดนตรีอย่างเห็นได้ชัด ดนตรีในยุคนี้จึงไม่คำนึงถึงรูปแบบ และความสมดุล แต่จะเน้นเนื้อหา ว่าดนตรีกำลังจะบอกเรื่องอะไร ให้อารมณ์อย่างไร เช่น แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ความเศร้าโศกเสียใจ หรือความกลัว ด้านเสียงประสานก็มักจะใช้คอร์ดที่มีเสียงไม่กลมกลืน เช่น ดอร์ดโครมาติค (Chromatic Chord) หรือ คอร์ดที่มีระยะขั้นคู่เสียงกว้างมากขึ้นๆ เช่น คอร์ด 7,9 หรือ 11 นอกจากจะแสดงถึงอารมณ์แล้ว คีตกวียังชอบเขียนเพลงบรรยายธรรมชาติเรื่องนิยายหรือความคิดฝัน ของตนเอง โดยพยายามทำเสียงดนตรีออกมาให้ฟังได้ใกล้เคียงกับสิ่งที่กำลังบ รรยายมากที่สุด เพลงที่มีแนวเรื่องหรือทิวทัศน์ธรรมชาติเป็นแนวการเขียนนี้เรีย กว่า ดนตรีพรรณนา (Descriptive Music) หรือ โปรแกรมมิวสิค (Program Music) สำหรับบทเพลงที่คีตกวีได้พยายามถ่ายทอดเนื้อความมาจากคำประพันธ ์หรือบทร้อยกรอง (Poem) ต่างๆ แล้วพรรณนาสิ่งเหล่านี้ออกมาด้วยเสียงของดนตรีอย่างเหมาะสมนั้น จะเรียกบทเพลงแบบนี้ว่า ซิมโฟนิคโพเอ็ม (Symphonic Poem) ต่อมาภายหลังเรียกว่า โทนโพเอ็ม (Tone Poem)

ในยุคนี้เป็นสมัยชาตินิยมทางดนตรีด้วย (Nationalism) คือ คีตกวีจะแสดงออกโดยใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองประกอบไว้ในเพลงที่แต่ งขึ้น หรือแต่งให้มีสำเนียงของชาติตนเองมากที่สุด โดยใช้บันไดเสียงพิเศษของแต่ละชาติ ซึ่งเป็นผลให้คนในชาติเดียวกันเกิดความรักใคร่กลมเกลียวกัน รักชาติบ้านเมืองเกิดความหวงแหนทุกสิ่งทุกอย่างบนแผ่นดินที่อาศ ัยอยู่ เช่น ซีเบลิอุส (Jean Sibelius) แต่งเพลง ฟินแลนเดีย (Finlandia) โชแปง (Frederic Chopin) แต่งเพลง มาซูกา (Mazurka) และโพโลเนียส (Polonaise) นอกจากนี้ยังมีคีตกวีชาติอื่นๆ อีกมาก




คีตกวีที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ ได้แก่

1. ซีเบลิอุส (Jean Sibelius ค.ศ. 1865 - 1957)

2. ลิสซต์ (Franz Liszt ค.ศ. 1811 - 1886)

3. เม็นเดลโซห์น (Felix Mendelssohn ค.ศ. 1809 - 1847)

4. โชแปง (Frederic Chopin ค.ศ. 1810 - 1849)

5. ชูมานน์ (Robert Schumann ค.ศ. 1810 - 1856)

6. วากเนอร์ (Richard Wagner ค.ศ. 1813 - 1883)

7. บรามส์ (Johannes Brahms ค.ศ. 1833 - 1897)

8. ไชคอฟสกี (Peter Ilyich Tchaikovsky ค.ศ. 1846 - 1893)


📷 ลักษณะทั่วๆไปของการดนตรีในสมัยโรแมนติก (ไขแสง ศุขะวัฒนะ. 2535:111)

1. คีตกวีสมัยนี้มีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น สามารถแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด อย่างมีอิสระ ไม่จำเป็นต้องสร้างความงามตามแบบแผนวิธีการ และไม่ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใดทั้งนี้เพราะเขาไม่ได้อยู่ ในความอุปภัมภ์ของโบสถ์ เจ้านาย และขุนนางเช่นคีตกวีสมัยคลาสสิกอีกต่อไป 2. ใช้อารมณ์ และจินตนาการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน 3. ลักษณะที่เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธิชาตินิยม” (Nationalism) 4. ลักษณะที่ยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธินิยมเยอรมัน” (Germanism) 5. ลักษณะภายในองค์ประกอบของดนตรีโดยตรง 5.1 ทำนอง ลีลาและบรรยากาศของทำนองเน้นความรู้สึก และอารมณ์ของบุคคลมากขึ้นมีแนวเหมือนแนวสำหรับขับร้องมากขึ้น และความยาวของวลี (Phrase) ก็เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำกัด 5.2 การประสานเสียง โครงสร้างของคอร์ดและลำดับการใช้คอร์ด มีเสรีภาพมากขึ้นการใช้คอร์ด 7 คอร์ด 9 อย่างมีอิสระ และการย้ายบันไดเสียงแบบโครมาติค (Chromatic Modulation) มีบทบาทที่สำคัญ 5.3 ความสำคัญของเสียงหลัก (Tonality) หรือในคีย์ยังคงมีอยู่ แต่เริ่มคลุมเครือหรือเลือนลางไปบ้าง เนื่องจากบางครั้งมีการเปลี่ยนบันไดเสียงออกไปใช้บันไดเสียงที่ เป็นญาติห่างไกลบ้าง หรือ Chromatic Modulation 5.4 พื้นผิว ในสมัยนี้โฮโมโฟนียังคงมีความสำคัญมากกว่าเคาน์เตอร์พอยท์ 5.5 ความดังเบาของเสียง (Dynamics) ในสมัยนี้ได้รับการเน้นให้ชัดเจนทั้งความ ดัง และความเบาจนเป็นจุดเด่นจุดหนึ่ง

2,554 views0 comments

Recent Posts

See All

コメント


bottom of page